วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

ยี่ห้อคอนแทคเลนส์ ซื้อคอนแทคเลนส์

คอนแทคเลนส์มีหลายยี่ห้อ แล้วแต่ผู้ที่ชื่นชอบ ว่าจะเลือกใช้รุ่นไหน ยี่ห้อย เอ้อยี่ห้ออะไร ลองมาดูยี่ห้อคอนแทคเลนส์กันว่ามีอะไรบ้างที่เขาขายๆกันทุกวันนี้

Color Lens - Nudy Quarter Series



Color Lens - Angel Color Series


Circle Lens - Black & Brown Lens


Color Lens - Wing Series


มีอีกเยอะครับ อยากซื้อรุ่นไหนคลิกเข้าไปดูไค้ครับ
ซื้อคอนแทคเลนส์

อ่านก่อนคิดซื้อคอนแทคเลนส์ "ชนิดของคอนแทคเลนส์"

คอนแทคเลนส์


» ความหมายและชนิดของคอนแทคเลนส์
CONTACT LENS
ความหมายของคอนแทคเลนส์
เลนส์สัมผัสที่ใช้แก้ไขปัญหาสายตา วางที่กระจกตา (Cornea ) และครอบคลุมถึงตาขาว บางส่วน (Soft Contact Lens)

ชนิดของคอนแทคเลนส์
คอนแทคเลนส์มี 2 ชนิด แบ่งตามเนื้อวัสดุที่ผลิต
1. RGP CL ( Rigid gas permeable )
2. SCL ( Soft Contact Lens )

RGP CONTACT LENS
- ลักษณะแข็งและหนา รูปร่างคงที่
- ขนาดเล็กกว่าตาดำ วางที่กระจกตา
- ออกซิเจนซึมผ่านได้น้อย
ข้อดี
- การถอดและใส่ง่าย
- ฉีกขาดยาก และคงทนต่อการขูดขีด
- ให้ภาพคมชัดกว่า เหมาะสำหรับสายตาเอียง
- สกปรกยาก อายุการใช้งานนาน 5 – 7 ปี
ข้อเสีย
- ใส่ไม่สบายตา ปรับตานาน
- มีโอกาสหลุดง่าย แตกหักง่าย
- ใส่นาน ๆ จะทำให้กระจกตาเสียรูปทรง ไม่เป็นที่นิยมใช้
- ไม่ค่อยเป็นที่นิยม


SOFT CONTACT LENS
- มีความนิ่มและบาง ยืดหยุ่นได้
- ทำจากซิลิโคนชนิด HEMA สามารถอมน้ำได้ ออกซิเจนซึมผ่านได้ดี
- เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
ข้อดี
- ใส่สบายตา ปรับตาง่ายกว่า RGP
- ไม่หลุดง่าย ใส่เล่นกีฬาได้ดี
- ใส่ได้นาน
ข้อเสีย
- สกปรกง่าย ดูแลยาก
- อายุการใช้งานสั้นประมาณ 1 – 2 ปี
ข้อดีของคอนแทคเลนส์เมื่อเปรียบเทียบกับแว่นตา
1. มีมุมมองมากกว่าแว่นตา
2. ขนาดวัตถุใกล้เคียงความจริง เฉพาะสายตาสูง ๆ
3. เพิ่มความสวยงาม เสริมบุคลิก
4. ใส่เล่นกีฬา สะดวก ปลอดภัย
5. ไม่มีเงาสะท้อนที่ขอบเลนส์
6. ไม่มีรอยตำหนิบนใบหน้า
7. เลือกใส่แว่นกันแดดได้ตามพอใจ

ข้อจำกัดของคอนแทคเลนส์
1. ช่วงแรกที่ฝึกใส่จะรู้สึกยุ่งยาก และระคายเคืองตา
2. ใช้เวลาในการใส่ – ถอดนานในระยะแรกที่ฝึกใช้
3. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เช่น ค่าน้ำยาดูแลรักษาคอนแทคเลนส์
4. ไม่สามารถใช้ได้กับสายตาปริซึม
5. ตาอักเสบได้ ถ้ารักษาความสะอาดไม่ดี
6. ฉีกขาดง่าย เพราะเนื้อเลนส์จะนิ่มและบาง ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
7. มีโอกาสแพ้น้ำยา แพ้เนื้อวัสดุได้

ซื้อคอนแทคเลนส์

ที่มา:http://www.topcharoen.co.th/web/expert_detail.php?id=26

เราควรหรือไม่ควรกับการใช้คอนแทคเลนส์

คอนแทคเลนส์


» ผู้ที่เหมาะและไม่เหมาะกับการใช้คอนแทคเลนส์
ผู้ที่เหมาะสมที่จะใช้คอนแทคเลนส์
1. ผู้ที่มีปัญหาสายตา
- สายตาสั้น
- สายตาเอียง
- สายตายาว
- สายตาสูงอายุ
2. ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว สุขภาพดี
3. ผู้ผ่านการผ่าตัดต้อกระจก กรณีไม่ได้ใส่เลนส์เทียม
4. ผู้ที่ต้องการเพิ่มความสวยงามให้กับดวงตา แต่สายตาปกติ

ผู้ที่ไม่เหมาะสมจะใช้คอนแทคเลนส์
1. ผู้ที่มีโรคประจำตัว
- โรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- โรคภูมิแพ้
- โรคไซนัส เพราะจะทำให้ใส่คอนแทคเลนส์ไม่สบายตาและไม่ชัดได้ รวมถึงผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
2. ผู้ที่มีสุขภาพตาไม่ดี
- เป็นต้อลม , ต้อเนื้อ , ตาแดง
- กระจกตาไม่ไวต่อความรู้สึก
- ตาแห้ง , กระพริบตาครึ่งตา

3. ผู้ที่ทำงานที่มีมลภาวะ
- ฝุ่นละอองมาก
- ลมพัดแรง
- ไอระเหยสารเคมี
- มีความร้อนสูง
- มีควันบุหรี่หรือควันพิษ มลภาวะดังกล่าวจะทำให้ความสบายตาลดลงขณะใส่คอนแทคเลนส์ หรือคอนแทคเลนส์อายุการใช้งานสั้นลง เป็นต้น
4. ผู้ที่อายุไม่เหมาะสม เพราะคอนแทคเลนส์จะเน้นเรื่องการดูแลรักษาทำความสะอาด ดังนั้นผู้ ใช้จะต้องเข้าใจการใช้งานและข้อควรระวังในการใช้งานเป็นอย่างดี


ที่มา http://www.topcharoen.co.th/web/expert_detail.php?id=24
ซื้อคอนแทคเลนส์คลิกเลย

ความเป็นมา ประวัติของ คอนแทคเลนส์

ในปัจจุบัน มีประชากรถึง 2% จากทั่วโลก ที่ใส่คอนแทคเลนส์ หรือประมาณ 125 ล้านคน โดยมีที่อเมริกา 28-38 ล้านคน และที่ญี่ปุ่น 13 ล้านคน ฯลฯ โดยแต่ละคนก็ใส่คอนแทคเลนส์ก็มาจากหลากหลายเหตุผล

และหนึ่งในนั้นคือ เพื่อความคล่องตัว เพราะการใส่คอนแทคเลนส์จะทำให้คล่องตัวมากกว่าการสวมแว่นตา เช่น เล่นกีฬา ฯลฯ อีกทั้งคอนแทคเลนส์ มีผลกระทบในช่วงตอนอากาศหนาวน้อยมาก และสามารถมองได้ในมุมที่กว้าง เพราะไม่มีกรอบมาจำกัดเหมือนแว่นตาจ๊ะ



น้องๆ ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์อยู่ตอนนี้ เคยทราบที่มาของเจ้าเลนส์จิ๋วมหัศจรรย์นี้หรือไม่ว่า มันมีที่มาที่ไปอย่างไร .........อิอิ ถ้าไม่รู้ตามมาเลย ก่อนอื่น ขอบอกว่า คอนแทคเลนส์ที่น้องๆ ใช้จะต้องถูกสวมไว้ที่ตาในส่วนของคลอเนียจ๊ะ

Adolf Fick โดยเริ่มต้น ในปี 1887 Adolf Fick ได้ผลิตคอนแทคเลนส์สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยมันถูกทำมาจากกระจกสีน้ำตาล โดยเขาได้รับความรู้เกี่ยวกับดวงตาส่วนคลอเนียมาจาก Leonardo da Vinci จากหนังสือ Codex of the eye, Manual D ที่พิมพ์ในปี 1508
ส่วนความรู้เกี่ยวกับกระจกที่ของเหลวสามารถซึมเข้าไปได้และไปติดอยู่ที่คลอเนียได้ René Descartes ใช้กระจกใส แต่ความคิดนี้ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ Thomas Young ก็ได้ทำการทดลองคล้ายๆกันนี้ในปี 1801

ต่อมา Sir John Herschel ได้เสนอความคิดออกมา 2 แบบ คือเรื่องเกี่ยวรูปร่างของคอนแทคเลนส์ ซึ่งควรมีลักษณะเป็นวงกลม และความคิดที่สองคือควรมีลักษณะเหมือนเจล โปร่งใสในระดับปานกลาง ซึ่งแนวความคิดทั้งสองนี้ทำให้ในปี 1929 Hungarian Dr. Dallos สามารถหาวิธีที่ดีที่สุดในการผลิตคอนแทคเลนส์ ซึ่งเขาเป็นคนแรกที่สามารถผลิตคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสำหรับใช้กับดวงตาได้

ปี 1930 ได้มีการนำ polymethyl methacrylate (PMMA หรือ Perspex/Plexiglas) มาใช้ผลิตคอนแทคเลนส์ และมีการพัฒนาต่อมาโดย William Feinbloom ได้ผลิตคอนแทคเลนส์ ด้วยการใช้พลาสติกผสมกับแก้ว
ข้อเสียสำคัญของ polymethyl methacrylate คือ ออกซิเจนไม่สามารถผ่านได้ เลนส์ชนิดนี้จะเป็นเลนส์แบบแข็ง ส่วนเลนส์แบบนุ่มถูกสร้างโดย Otto Wichterle ซึ่งสร้างมาจาก เจล ในปี 1959 และในปี 1999 ได้นำ silicone hydrogels มาผลิตทำคอนแทคเลนส์ เพราะเลนส์ชนิดนี้ออกซิเจนสามารถผ่านได้และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้จ๊ะ

ที่มา http://blog.eduzones.com/nuihappy/2554
ซื้อคอนแทคเลนส์ คลิก คอนแทคเลนส์